เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือ เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเดินทางกลับประเทศของจอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่ได้หนีออกไปนอกประเทศอีกครั้ง,

ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล เสนีย์ ปราโมช และ การสังหารโหดช่างไฟฟ้า 2 คน ที่จังหวัดนครปฐมโดยฝั่งขวา โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี ถูกเผา ถูกข่มขืน หรือถูกทำให้พิการ โดยสถิติจากมูลนิธิป๋วยคาดการณ์ตัวเลขผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 100 คน

หนึ่งวันก่อนเหตุการณ์ มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายการแขวนคอจำลองโดยผู้ประท้วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสื่อ สำหรับฝ่ายที่ต่อต้านนักศึกษาในภาพถ่ายนั้นเหมือนกับกำลังแขวนคอหุ่นจำลองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น โดยมีสถานีวิทยุยานเกราะปลุกระดมให้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น อ้างว่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ สั่งการโจมตีในรุ่งเช้าและ พลเอก สนิท พรหมเทพเสนาธิการกองทัพบก

อนุญาตให้ยิงอย่างเสรีในวิทยาเขต คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยึดอำนาจทันทีหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ สมาชิกของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนั้นมีความคิดสายกลางกว่ากลุ่มของพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่ม ยังเป็นที่เข้าใจไม่มากนัก คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองแต่งตั้งธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในหลักการ และ ผู้ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี

วันที่ 6 ตุลาคม 2519 นั้นเป็นวันที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า

ได้เกิดกรณีนองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายขวาหลายกลุ่มร่วมมือกันก่อการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใจกลางพระนคร จนทำให้มีผู้เสียชีวิตฝ่ายประชาชนอย่างน้อย 41 คน และบาดเจ็บ 145 คน การก่อการสังหารครั้งนี้ได้กลายเป็นข่าวแพร่ไปทั่วโลก แต่ที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ การก่อกรณีนองเลือดครั้งนี้ ไม่มีการจับกุมฆาตกรผู้ก่อการสังหารเลยแม้แต่คนเดียว ในทางตรงข้ามนักศึกษาประชาชนที่เหลือรอดจากการถูกสังหารจำนวน 3,094 คน กลับถูกจับกุมทั้งหมดภายในวันนั้นเอง และถึงแม้ว่าในระยะต่อมา ผู้ถูกจับกุมจะได้รับการประกันตัวออกมาเป็นส่วนใหญ่

แต่สุดท้ายก็ยังมีเหลืออีก 27 คน ถูกอายัดตัวเพื่อดำเนินคดี เป็นชาย 23 คน และหญิง 4 คน จนท้ายที่สุด จะเหลือ 19 คน ซึ่งตกเป็นจำเลย ถูกคุมขังและดำเนินคดีอยู่เกือบ 2 ปีจึงจะได้รับการปล่อยตัว ส่วนผู้ก่อการสังหารซึ่งควรจะเป็นจำเลยตัวจริงนั้นไม่มีรัฐบาลหรือผู้กุมอำนาจครั้งไหนกล่าวถึงอีกเลย แม้กระทั่ง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีสมัยที่ปล่อยผู้ต้องหา 6 ตุลาฯ ทั้ง 19 คนนี้ก็ได้กล่าวว่า แล้วก็ให้แล้วกันไป ลืมมันเสียเถิดนะ เหมือนกับว่าจะให้ลืมกรณีฆาตกรรมดังกล่าวเสีย มิให้กล่าวถึงคนร้ายในกรณีนี้อีก

เงื่อนงำของการสังหารโหดนี้ได้รับการคลี่คลายในตัวเองขั้นหนึ่งในเย็นวันนั้นเอง เมื่อคณะทหารกลุ่มหนึ่งในนามของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้กระทำการรัฐประหารยึดอำนาจล้มเลิกการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ล้มรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางรัฐสภาและฟื้นระบอบเผด็จการขวาจัดขึ้นมาปกครองประเทศแทน ถ้าหากว่าการสังหารหมู่เมื่อเช้าวันที่ 6 ตุลาคม คือการก่ออาชญากรรมต่อนักศึกษาผู้รักความเป็นธรรมแล้ว

การรัฐประหารเมื่อเย็นวันที่ 6 ตุลาคม คือ การก่ออาชญากรรมต่อประเทศชาติ เพราะเป็นการทำลายสิทธิประชาธิปไตยของประชาชนทั้งชาติ ที่ได้มาจากการเสียสละเลือดเนื้อและชีวิตของวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เมื่อโยงการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ครั้งนี้เข้ากับการสังหารโหดที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน จะทำให้มองเห็นภาพการเคลื่อนไหวของพลังปฏิกิริยาที่ร่วมมือกันก่ออาชญากรรมได้ชัดเจนขึ้น

อีกหนึ่งเหตุการณ์วิปโยค ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เมื่อนักศึกษาถูกล้อมปราบในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จนเกิดเหตุการณ์จลาจลในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ‘ทีมข่าวเจาะประเด็น’ ขอพาย้อนไป ณ วันนั้นว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้น…ชนวนของเหตุการณ์ เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2519 ขณะที่ ‘ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย’ จัดอภิปรายที่บริเวณสนามหลวง เพื่อคัดค้านการกลับมาของ ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’

จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รวมทั้งเรื่องการสังหารโหดช่างไฟฟ้า 2 คน ที่จังหวัดนครปฐม ส่งผลทำให้มหาวิทยาลัยต้องประกาศเลื่อนการรับพระราชทานปริญญาบัตรของนักศึกษาหลังจากนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกาศหยุดเรียนเพื่อมาร่วมการประท้วง และนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชุมนุมอภิปรายที่สนามหน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่ ขณะที่นายวัฒนา เขียววิมล ผู้นำนวพล ประกาศชุมนุมที่บริเวณสนามชัย ส่วนนายกสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ประกาศเลื่อนการสอบไล่ประจำปี

ขณะที่ ช่วงบ่ายวันที่ 4 ตุลาคม ชมรมศิลปการแสดงของธรรมศาสตร์ จัดแสดงละครรำลึกถึงเหตุการฆ่าคน ทำให้ นางนงเยาว์ สุวรรณสมบูรณ์ เข้าแจ้งความที่ สน.ชนะสงคราม ว่าการแสดงละครดังกล่าว เป็นการล้อเลียนการแขวนคอบุคคลที่มีใบหน้าคล้ายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระทั่งคืนวันที่ 5 ตุลาคม ถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม กำลังฝ่ายต่อต้านนักศึกษา

ได้เคลื่อนขบวนไปยังบริเวณท้องสนามหลวง ช่วงหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นได้เริ่มมีการปะทะกันด้วยอาวุธปืนเบา แล้วเข้าโจมตีกลุ่มนักศึกษา พร้อมตอกย้ำความรุนแรงด้วยการที่ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ สั่งอนุญาตให้ยิงนักศึกษาได้อย่างเสรี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายรายจากนั้น พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูป เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช โดยยอดผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 4,287 คน

การคุกคามฝ่ายนักศึกษาเกิดขึ้นอย่างหนักใน พ.ศ.2519 ตั้งแต่ต้นปี

การปฏิบัติการดังกล่าวกระทำจนกระทั่งแน่ใจได้ว่า ขบวนการอ่อนกำลังลงมากแล้ว จึงได้มีการนำเอาตัวจอมพลประภาส จารุเสถียร เข้ามาสู่ประเทศเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2519 ในข้ออ้างของจอมพลประภาสว่า จะเข้ามารักษาตา ฝ่ายนักศึกษาได้เรียกชุมนุมประชาชน เพื่อเรียกร้องให้นำตัว จอมพลประภาสมาลงโทษ ในการประท้วงครั้งนี้ กลุ่มอันธพาลการเมืองก็ก่อกวนเช่นเดิม ด้วยการขว้างระเบิดใส่ที่ชุมนุมของฝ่ายนักศึกษา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน

และบาดเจ็บอีก 38 คน แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์นี้ กลุ่มชนชั้นนำ ยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะก่อการรัฐประหารได้ จึงต้องผลักดันให้จอมพลประภาส เดินทางออกนอกประเทศไปก่อน ในที่สุดจอมพลประภาสยินยอมเดินทางออกไปยังกรุงไทเปอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม โดยก่อนออกเดินทาง ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

หลังจากนี้ เริ่มมีข่าวว่า จอมพลถนอม กิตติขจร จะขอกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง เนื่องจากบิดาขุนโสภิตบรรณลักษณ์(อำพัน กิตติขจร) ซึ่งมีอายุถึง 90 ปีแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2519 ศูนย์นิสิตได้เรียกประชุมกลุ่มต่างๆ 165 กลุ่ม

เพื่อคัดค้านการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม กิตติขจร โดยระบุความผิดของจอมพลถนอม 11 ข้อ จากนั้น ในวันที่ 7 กันยายน ก็มีการอภิปรายที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ”ทำไมจอมพลถนอมจะกลับมา” ซึ่งผู้อภิปรายหลายคนได้สรุปว่า การเข้ามาของจอมพลถนอมส่วนหนึ่ง เป็นแผนการที่วางไว้เพื่อจะหาทางก่อการรัฐประหารนั้นเอง อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้มีมติมิให้จอมพลถนอม กิตติขจรกลับเข้าประเทศ

แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2519 จอมพลถนอม กิตติขจร

ก็กลับเข้าประเทศจนได้ โดยบวชเป็นสามเณรมาจากสิงคโปร์ จากนั้นก็ตรงไปยังวัดบวรนิเวศ เพื่อบวชเป็นภิกษุ โดยมีพระญาณสังวร เป็นองค์อุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเรียบร้อยก็ขนานนามว่า สุกิตติขจโรภิกษุ ในกรณีนี้ วิทยุยานเกราะได้นำคำปราศรัยของจอมพลถนอมมาออกอากาศในวันที่ 19 กันยายน ซึ่งมีสาระสำคัญว่า จอมพลถนอมกลับเข้ามาในประเทศครั้งนี้เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของบิดา จึงได้บวชเป็นพระภิกษุตามความประสงค์ของบิดา

และไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองอย่างใดเลย จากนั้น วิทยุยานเกราะได้ตักเตือนมิให้นักศึกษาก่อความวุ่นวาย มิฉะนั้นแล้วอาจจะต้องมีการประหารสักสามหมื่นคน เพื่อให้ชาติบ้านเมืองรอดพ้นจากภัย winunleaked

เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ขบวนการนักศึกษาที่นำโดยศูนย์นิสิต และแนวร่วมต้านเผด็จการแห่งชาติ ก็เคลื่อนไหวโดยทันที โดยยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล แสดงการคัดค้านจอมพลถนอม ที่ใช้ศาสนาบังหน้า ทำให้พระศาสนามัวหมอง เรียกร้องให้นำเอาจอมพลถนอมมาขึ้นศาลพิจารณาคดี พร้อมทั้งคัดค้านความพยายามที่จะก่อการรัฐประหาร นอกจากนี้ ขณะที่กลุ่มยุวสงฆ์ ก็ออกคำแถลงคัดค้านสถานะภิกษุของจอมพลถนอม zokzak

โดยขอให้มหาเถรสมาคมตรวจสอบการบวชครั้งนี้ว่า ถูกต้องตามพระวินัยหรือไม่ และถวายหนังสือต่อสังฆราช ให้สอบสวนพระญาณสังวรด้วย ในฐานะที่ทำการบวชให้แก่ผู้ต้องหาคดีอาญา ปรากฏว่าสมเด็จพระสังฆราชยอมรับว่าการบวชนั้นถูกต้อง ส่วนเรื่องขับไล่จอมพลถนอมจากประเทศนั้นเป็นเรื่องทางโลก ที่ทางมหาเภระสมาคมไม่อาจเกี่ยวข้องได้

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *