เหตุการณ์ 6 ตุลา

เหตุการณ์ 6 ตุลาหรือ เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหตุการณ์ 6 ตุลา

เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจล  และปราบปรามนักศึกษา  และผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์  และท้องสนามหลวง  ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย  กำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของ  จอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ปัจจัยอื่นๆ เช่น  การเดินทางกลับประเทศของ จอมพล ประภาส จารุเสถียร ที่ได้หนีออกไปนอกประเทศอีกครั้ง,  ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลเสนีย์ ปราโมชและ การสังหารโหดช่างไฟฟ้า 2 คน ที่จังหวัดนครปฐมโดยฝั่งขวา โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี ถูกเผา ถูกข่มขืน หรือถูกทำให้พิการ โดยสถิติจากมูลนิธิป๋วยคาดการณ์ตัวเลขผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 100 คน

หนึ่งวันก่อนเหตุการณ์  มีการตีพิมพ์ภาพถ่ายการแขวนคอจำลองโดยผู้ประท้วงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในสื่อ สำหรับฝ่ายที่ต่อต้านนักศึกษาในภาพถ่ายนั้นเหมือนกับกำลังแขวนคอหุ่นจำลอง  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นผลให้กำลังกึ่งทหารที่โกรธแค้นมาชุมนุมกันนอกมหาวิทยาลัยในเย็นนั้น โดยมีสถานีวิทยุยานเกราะปลุกระดมให้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น อ้างว่านักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ สั่งการโจมตีในรุ่งเช้าและ  พลเอก สนิท พรหมเทพ เสนาธิการกองทัพบก อนุญาตให้ยิงอย่างเสรีในวิทยาเขต คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง  นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ยึดอำนาจทันทีหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ สมาชิกของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองนั้นมีความคิดสายกลางกว่ากลุ่มของ พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร  และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองกลุ่ม ยังเป็นที่เข้าใจไม่มากนัก  คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองแต่งตั้ง ธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในหลักการ และ ผู้ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี

เหตุการณ์ 6 ตุลา คืนวันที่ 5 ตุลาคมต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม กำลังฝ่ายต่อต้านนักศึกษาเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณท้องสนามหลวงช่วงหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเริ่มมีการปะทะกันด้วยอาวุธปืนเบา ขณะที่นายกรัฐมนตรีกำลังประชุมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยพลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.ท. มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น รองอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.ท.ณรงค์ มหานนท์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ พล.ต.ท.สุรพล จุลละพราหมณ์ รองอธิบดีกรมตำรวจ

พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ และ พล.ต.ท.กิตติ เสรีบุตร อดีตผู้บัญชาการผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จัดประชุมในเวลา 24.00 น. แต่การสรุปเหตุการณ์ของฝ่ายตำรวจมีความสับสน ทั้งยังมีการส่งตำรวจบางนายเข้าปะปนกับกลุ่มนักศึกษาด้วย

โดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์พยายามโทรศัพท์ติดต่อกับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดี และนงเยาว์ ชัยเสรี รองอธิการบดี รวมถึงรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ นิพนธ์ ศศิธร แต่ไม่สามารถติดต่อได้

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งจัดขึ้นเมื่อเช้าวันนั้น พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทยและรองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ถึงเวลาแล้วที่จะขจัดขบวนการนักศึกษาเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา มีการยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ลงกลางสนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ตำรวจตระเวนชายแดนปิดทางออกทั้งหมดเมื่อเวลาประมาณ 7 นาฬิกา

รถบรรทุกของพุ่งเข้าชนประตูใหญ่และตำรวจเร่งรุดเข้าไปในมหาวิทยาลัยเมื่อเวลาประมาณ 11 นาฬิกา นักศึกษาหลายคนที่ติดอาวุธเปิดฉากยิง แต่พ่ายไปในเวลาอันสั้น แม้ว่านักศึกษาจะร้องขอให้หยุดยิง แต่ พลตำรวจเอก ชุมพล ผู้บัญชาการตำรวจ อนุญาตให้ยิงเสรีในมหาวิทยาลัย

หน่วยตำรวจที่ปฏิบัติการมี 3 กลุ่ม

คือ ตำรวจตระเวนชายแดน พลร่ม โดยรายชื่อปฏิบัติการเท่าที่รวบรวมได้ดังนี้ พลตำรวจตรี อังกูร ทัตตานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน พล.ต.ต.สุวิทย์ โสตถิทัต พล.ต.ท.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผู้บังคับการกองปราบปราม พล.ต.ต.สงวน คล่องใจ ผู้บัญชาการกองปราบปราม  พลตำรวจตรี วิเชียร แสงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.ยุทธนา วรรณโกวิท ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พล.ต.ต.เสน่ห์ สิทธิพันธ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล  พลตำรวจตรี เสริม จารุรัตน์ ผู้บัญชาการกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ

พ.ต.ท.สล้าง บุนนาค รองผู้กำกับการ 2 กองปราบปราม ภายใต้บังคับบัญชา พ.ต.อ.จิระ เครือสุวรรณ ผู้กำกับการกองกำกับการ 2 กองปราบปราม พ.ต.ต.สพรั่ง จุลปาธรณ์ สารวัตรประจำแผนกตำรวจแผนกอาวุธพิเศษ ส.ต.อ.อากาศ ชมภูจักร ตำรวจปฏิบัติการกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน พ.ต.ต.มนัส สัตยารักษ์ สว.ผ.3 กก.2 ป. ร้อยตำรวจโท วัชรินทร์ เนียมวณิชกุล ผู้บังคับกองร้อยที่ 1 บางเขน

และ ส.ต.ท.สมศักดิ์ วงศ์พรหมพลตำรวจตรี กระจ่าง ผลเพิ่ม อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธร  ทั้งหมดอยู่ภายใต้คำสั่งของ พลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ และ พล.ต.ท.ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ

นักศึกษาและประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทั้งชายหญิงราว 1,000 คน ถูกบังคับให้ถอดเสื้อนอนลงกับพื้น (แม้ผู้หญิงยังได้รับอนุญาตให้สวมยกทรง) บังคับให้คลานไปตามพื้นสนามหญ้า ทั้งถูกเตะต่อยและรุมทำร้าย หลายคนถูกทุบตีจนเสียชีวิต มีการแขวนศพผู้ที่เสียชีวิตแล้วไว้กับต้นไม้ริมสนามหลวงแล้วเตะต่อย ทั้งถุยน้ำลายรดและตะโกนด่าสาปแช่ง มีการนำศพทั้งผู้ที่เสียชีวิตแล้วและบาดเจ็บสาหัสมาเผาสด ๆ ด้วยยางรถยนต์บริเวณหน้าอุทกทาน  มีการตบตีและปล้นทรัพย์สินส่วนตัว จากนั้นตำรวจยิงปืนกลข้ามหัวนักศึกษาเข้าไปในตึกคณะบัญชี เย็นนั้น กลุ่มนวพลบางคนอวดเพื่อนว่า ตน “ล้วงผู้หญิงตามสบาย”  ผู้พยายามกระโดดหนีลงแม่น้ำเจ้าพระยาถูกยิงจากเรือของกองทัพเรือ

 นอกจากนี้ยังมีการเผาทั้งเป็น ตอกไม้ทิ่มศพ

ใช้ไม้ทำอนาจารกับศพผู้หญิง หรือปัสสาวะบนศพ มีนักศึกษาแพทย์และพยาบาลที่เป็นสมาชิกหน่วยอาสาสมัคร “พยาบาลเพื่อมวลชน” ถูกฆ่าตาย 5 คน วิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ถูกยิงขณะพยายามว่ายน้ำเข้าสู่ที่ปลอดภัย การสังหารหมู่ดำเนินไปถึงเที่ยง เมื่อพายุฝนขัดจังหวะ นิตยสารไทม์ อธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น “ฝันร้ายของการลงประชาทัณฑ์และการเผา” ใจ อึ๊งภากรณ์ เขียนว่า มันเป็น “ความทารุณของอนารยธรรมอย่างยิ่งต่อนักเคลื่อนไหวกรรมกร นักศึกษาและชาวนา” สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ไปถ่ายภาพเพื่อ “เอาความจริงมาเปิดเผยให้คนรับรู้ นี่เป็นหน้าที่ของผม”

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สั่งปลดเขาจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามคำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 42 มีการกล่าวหาว่าตำรวจ และขบวนการกระทิงแดงข่มขืนนักศึกษาหญิง ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิต ตัวเลขอย่างเป็นทางการบ่งว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน และบาดเจ็บ 167 คน ป๋วย อึ๊งภากรณ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขณะนั้น ให้ตัวเลขประมาณผู้เสียชีวิตอย่างไม่เป็นทางการกว่า 100 คน โดยอิงแหล่งข้อมูลนิรนามในสมาคมจงหัวแห่งประเทศไทย (Chinese Benevolent Association) ซึ่งกำจัดศพ

ช่วงเช้าวันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีนัดประชุมเป็นการด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ โดยตามรายงานของ พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ ระบุว่า ตำรวจซึ่งเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกนักศึกษาทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต แต่รายงานของพลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ กลับระบุว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมสถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จึงเกิดความสับสนว่าควรประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ โดยมีความเห็นออกเป็นสองฝ่ายคือ

รัฐมนตรีฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล ต้องการให้ประกาศ ส่วนรัฐมนตรีของพรรคชาติไทยและพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ เห็นว่าไม่ต้องประกาศ ทว่าสุดท้ายก็มิได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะเดียวกัน ฝ่ายพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็นัดประชุมคณะนายทหารระดับสูงที่กองบัญชาการทหารสูงสุด สนามเสือป่า โดยพลเรือเอกสงัดติดต่อไปยังนายทหารประจำตัวของหม่อมราชวงศ์เสนีย์เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ทางหม่อมราชวงศ์เสนีย์ยังไม่อาจเดินทางไปได้ เนื่องจากยังต้องกำกับดูแลสถานการณ์อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล

เวลาประมาณ 16.00 น. มีกลุ่มประชาชน

เดินทางไปยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ถนนพระอาทิตย์ เรียกร้องให้ปลดสมาชิกระดับสูง 3 คน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล ได้แก่ สุรินทร์ มาศดิตถ์ ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และ ชวน หลีกภัย โดยนำเชือกไปด้วยเพื่อเตรียมแขวนคอบุคคลทั้งสาม เพราะเชื่อว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ต่อมาประชาชนกลุ่มนี้ รวมถึงกลุ่มลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มแม่บ้าน ก็เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล แล้วปราศรัยโจมตีกลุ่มนักศึกษา และต่อมาก็พังประตูรั้วทำเนียบรัฐบาลด้วยรถบรรทุก 6 ล้อเข้าไปยังหน้าตึกบัญชาการ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลงมาพบ เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ลงมาพบแล้ว zokzak

ผู้ชุมนุมมีคำถามว่า รัฐบาลจะปลดบุคคลทั้งสามหรือไม่ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ตอบว่า บุคคลทั้งสามใกล้ชิดกับตนมานานกว่าสิบปี ไม่เคยมีพฤติการณ์แสดงออกว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ แต่เพื่อความสงบของบ้านเมือง ตนจะขอให้ทั้งสามลาออกเอง จากนั้นมีผู้ตะโกนถามว่า หากบุคคลทั้งสามไม่ยอมลาออก จะทำอย่างไร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ตอบว่า ถ้าเช่นนั้น ตนจะลาออกเอง ซึ่งการเจรจาช่วงนี้ ต่อมามีการตัดต่อเป็นว่า หม่อมราชวงศ์เสนีย์ไม่เคยทราบมาก่อนว่าบุคคลทั้งสามเป็นคอมมิวนิสต์ และจะยอมลาออกเองเพื่อความสงบของบ้านเมือง

เมื่อเสร็จสิ้นการเจรจาที่ทำเนียบรัฐบาลแล้ว หม่อมราชวงศ์เสนีย์เดินทางไปพบกับคณะนายทหารที่สนามเสือป่า โดยพลเรือเอกสงัดชี้แจงต่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ทหารกลุ่มตนมีความจำเป็นต้องรัฐประหาร ในเวลา 18:00 น.

มิฉะนั้นจะมีทหารอีกกลุ่มหนึ่งก่อการในเวลา 04:00 น. ขอให้เข้าใจด้วย ทั้งยังขอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์เป็นประธานที่ประชุมหรือเป็นที่ปรึกษา ซึ่งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ปฏิเสธไปทั้งหมด

โดยให้เหตุผลว่าตนเดินคนละเส้นทางกับทหาร พลเรือเอกสงัดจึงขอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ค้างคืนที่สนามเสือป่ากับฝ่ายทหารเป็นเวลาหนึ่งคืน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ตกลง ก่อนขอตัวลากลับไปเมื่อรุ่งเช้า หม่อมราชวงศ์เสนีย์แต่งตั้งพลเรือเอกสงัดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในวันที่ 25 กันยายน คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นกลุ่มนายทหารสายกลางซึ่งก่อการเพื่อป้องกันมิให้กลุ่มขวาจัดของพลตรีประมาณยึดอำนาจ ข้อเท็จจริงที่ว่าพลตำรวจเอกชุมพลเจตนาลงนามอนุญาตให้ยิงแสดงว่าเขาทราบว่าจะมีรัฐประหาร เพราะรัฐบาลพลเรือนจะสั่งดำเนินคดีต่อเขา

ภายหลังรัฐประหารคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรเวลา 19.10 น.และต่อมาได้ออกคำสั่งฉบับที่ 2 เรื่องแต่งตั้งผู้บัญชาการผู้รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยให้ พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการผู้รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ กลับหน้าหลัก

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *