เหตุการณ์

เหตุการณ์ ประมวลเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทย (ล้มล้างรัฐบาล) หลัง พ.ศ. 2475

เหตุการณ์

เหตุการณ์ ก่อนคณะปฏิรูปโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยต้องกลับมาเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อีกครั้ง เมื่อคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลทักษิณ เรื่องราวจะดำเนินไปอย่างไรคงต้องติดตามกันต่อไป และวันนี้เราก็มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการล้มล้างรัฐบาลมาฝากกันครับ….

1. กบฏบวรเดช (2476) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ถิ่นท่าราบ)สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยและนำประเทศกลับสู่การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง ผลของการเปลี่ยนแปลง คือ ปฏิวัติครั้งนี้ล้มเหลว พวกกบฏถูกฝ่ายรัฐบาลปราบปรามได้สำเร็จ

2. การรัฐประหาร พ.ศ. 2490  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พันเอกหลวงกาจสงครามและพลโทผิน ชุณหะวันสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้จอมพลป.พิบูลย์สงครามกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง และกลุ่มซอยราชครูมีบทบาทสำคัญทางการเมืองมากขึ้น, ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาแน่นแฟ้นมาก

3. การรัฐประหาร พ.ศ. 2501  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง อ้างสาเหตุจากภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ผลของการเปลี่ยนแปลง ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม

4. วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชน นิสิต นักศึกษา สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง เพื่อต่อต้านเผด็จการทหารที่ครอบงำและลิดรอนสิทธิ์เสรีภาพทางการเมืองของประชาชน ผลของการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (ที่ถือว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง)

5. เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง อ้างว่านิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 14 ต.ค. 2516 ได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์ ผลของการเปลี่ยนแปลง ระบอบประชาธิปไตยถูกล้มล้างและกลับไปสู่การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้ง สภาพการเมืองขาดเสถียรภาพและเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง

6. การรัฐประหาร พ.ศ. 2520 ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การคัดค้านนโยบายแบบขวาจัดของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร(เผด็จการโดยพลเรือน)ผลของการเปลี่ยนแปลง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา

7. การรัฐประหาร พ.ศ. 2534 (รสช.) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์, พลเอกสุจินดา คราประยูร, พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิลสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง การฉ้อราษฎร์บังหลวงของคณะรัฐบาลที่มีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี ผลของการเปลี่ยนแปลง นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี

8. เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (17–19 พ.ค. 2535) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง นักศึกษา ประชาชน และนักการเมืองบางกลุ่ม ร่วมกันต่อต้านการเข้าดำรงตำแหน่งผู้นำของพลเอกสุจินดา คราประยูร ผลของการเปลี่ยนแปลง เกิดเหตุการณ์นองเลือดอีกครั้ง และนายอานันท์ ปันยารชุนกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกฯอีกวาระหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรัฐบาลหรือคณะผู้ปกครอง

หรือการเปลี่ยนกติกาการปกครองหรือรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกประเทศปกติรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศ ย่อมกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงไว้ เช่น ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปทุก 4 ปี หรือ 5 ปี หรือ เลือกประธานาธิบดีทุก 4 ปี หรือ 6 ปี เพื่อให้โอกาสประชาชนติดสินใจว่า จะให้บุคคลใดหรือกลุ่มพรรคการเมืองใดได้เป็นผู้ปกครอง และกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงหลักการหรือสาระของรัฐธรรมนูญหรือแม้กระทั่งสร้างรัฐธรรมนูญใหม่แทนฉบับเดิม  การเปลี่ยนแปลงตามกระบวนการดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยสันติวิธี และเป็นวิถีทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอีกวิธีหนึ่งที่ถือว่าเป็นวิธีการรุนแรงและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย นั่นก็คือการใช้กำลังเข้าข่มขู่ เช่น ใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลเดิมไล่คณะรัฐมนตรีออกไป และตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ โดยกลุ่มของคนที่ยึดอำนาจเข้ามาแทนที่ หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วางกฎและกติกาตามที่กลุ่มผู้มีอำนาจปรารถนา โดยปกติคณะหรือกลุ่มบุคคลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีนี้จะต้องมีกองกำลังติดอาวุธเข้าปฏิบัติการ มิฉะนั้นแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จ และถึงมีกำลังก็ไม่อาจไม่สำเร็จเสมอไป เพราะมีองค์ประกอบการสนับสนุนหรือต่อต้านจากประชาชนเข้ามาเป็นปัจจัยประกอบด้วย

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองก็คือว่า การเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศมักไม่เป็นไปตามกติกา หรือระเบียบแบบแผนโดยสันติวิธี ตรงกันข้ามมักเกิดการแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปในรูปของการจลาจลกบฏ ปฏิวัติหรือรัฐประหารความหมายของคำเหล่านี้เหมือนกันในแง่ที่ว่าเป็นการใช้กำลังอาวุธยึดอำนาจทางการเมืองแต่มีความหมายต่างกันในด้านผลของการใช้กำลังความรุนแรงนั้น หากทำการไม่สำเร็จจะถูกเรียกว่า กบฏ จลาจล (rebellion) ถ้าการยึดอำนาจนั้นสัมฤทธิผล และเปลี่ยนเพียงรัฐบาลเรียกว่า รัฐประหาร (coupd etat) แต่ถ้ารัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง ก็นับว่าเป็น การปฏิวัติ

การปฏิวัติครั้งสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ได้แก่ การปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส ค.ศ.1789 การปฏิวัติในรัสเซีย ค.ศ.1917 การปฏิวัติของจีนในปี ค.ศ.1949 การปฏิวัติในคิวบา ค.ศ.1952 เป็นต้น

ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการปกครองเลย  ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัวเองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้คือ

“ปฏิวัติ” หมายถึงการยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ ส่วน “รัฐประหาร” หมายถึงการยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก ในประเทศไทย ถือได้ว่ามี การปฏิวัติ เกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลังรัฐประหารล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า

ตัวอย่างที่ต่างออกไป เช่น สมัยซัดดัม ฮุสเซน ในประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียว คือ พรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล) เผด็จการทหารมักอ้างความชอบธรรมให้แก่ตนเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ “อุดมการณ์ที่อันตราย” อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ยกภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์และทุนนิยมเป็นข้ออ้างของรัฐประหาร คณะทหารมักว่าพวกเขาไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่เป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหารมักไม่เคารพสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน ลาตินอเมริกา ทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลางเป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ระบอบเผด็จการทหารเริ่มมีจำนวนลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้กองทัพไม่สามารถยกคอมมิวนิสต์มาอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีก

ตัวอย่างเหตุการณ์สําคัญที่มีผลต่อพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

ในประวัติศาสตร์ของไทย  ได้มีเหตุการณ์สำคัญหลายประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เช่น เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง  ซึ่งมีตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว  ดังนี้

1.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับปัจจัยทางภูมิศาสตร์
การเลือกที่ตั้งเมืองหลวงของบรรพบุรุษไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา  ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกว้างใหญ่  มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน 3 สาย  คือ  แม่น้ำลพบุรีทางตอนเหนือ  แม่น้ำป่าสักทางด้านตะวันออก  และแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้  มีคูคลองใหญ่น้อยเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำดังกล่าว  การเดินทางติดต่อหรือขนส่งสินค้าจึงสะดวกทั้งภายในและการติดต่อกับต่างประเทศ  เช่น  จีน  กรุงศรีอยุธยาจึงกลายเป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีต

2.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ วิเคราะห์บอล
ในสมัยรัชกาลที่ 4  ประเทศไทยได้ทำสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษ  เมื่อปี พ.ศ. 2398  เรียกว่า  สนธิสัญญาเบาว์ริง  ซึ่งผลของสัญญาฉบับนี้ทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง  คนไทยมีโอกาสค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้นพร้อม ๆ กับมีการแลกเปลี่ยน  และมีการผสมผสานทางวัฒนธรรม

3.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
การที่ไทยต้องรักษาเอกราชให้รอดพ้นจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศอังกฤษ  และฝรั่งเศส  ทำให้ไทยจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมให้ทันสมัย  จึงจำเป็นต้องยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน  ซึ่งผลของการเปลี่ยนเปลงดังกล่าว  ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้  เช่น
–  การยกเลิกระบบไพร่  อย่างค่อยเป็นค่อยไป
–  การยกเลิกระบบทาสในสมัยรัชกาลที่ 5
–  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาและเทคโนโลยีแบบตะวันตก  โดยการจัดตั้งโรงเรียนทั้งในกรุงเทพ ฯ และหัวเมือง  เพื่อขยายการศึกษาให้แพร่หลาย

4.  เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง กลับหน้าหลัก
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบการปกครองของไทย  คือ  เป็นวันที่คณะราษฎร  ซึ่งนำโดย  พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา  ได้ปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง  นับเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
หลักการสำคัญของ คณะราษฎร  คือ  ปวงชนชาวไทยทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกันและมีเสรีภาพในการกระทำสิ่งใดก็ได้  โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
การปฏิวัติของ  คณะราษฎร  จึงถือเป็นเหตุการณ์สำคัญต่อการปกครองของไทยอย่างแท้จริง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *