กฏหมาย รถตู้

กฏหมาย รถตู้ มีข้อบังคับอะไรบ้าง

กฏหมาย รถตู้

กฏหมาย รถตู้ กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้รถตู้โดยสาร เป็นรถประเภทมาตรฐาน คือ รถปรับอากาศมาตรฐาน 2 (ชั้น 2) ขนาดกลาง มีระวางที่นั่งระหว่าง 10-11 ที่นั่ง ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2551สำหรับจำนวนที่นั่งผู้โดยสารมีทั้ง 14 ที่นั่ง และ 15 ที่นั่ง โดยมีการควบคุมจำนวนที่นั่งให้เป็นไปตามสภาพของรถตู้โดยสารที่จดทะเบียน พิจารณาจากรุ่นการผลิตของรถตู้โดยสาร น้ำหนักรวมหลังจากจากติดตั้งเบาะโดยสารและถังเชื้อเพลิงในตัวรถแล้ว สำหรับน้ำหนักรวมสุทธิของรถตู้โดยสารเพื่อให้เกิดความปลอดภัยเมื่อบรรทุกผู้โดยสารคือ ต้องไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม นอกจากนี้ระยะของเบาะที่นั่งจะต้องไม่น้อยกว่า 67 เซนติเมตร

ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะของประเทศ

กรมการขนส่งทางบก ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลให้ติดตั้ง GPS Tracking ในรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท ทุกคัน ทุกเส้นทาง มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 25 ม.ค. 59 ที่ผ่านมา และให้ติดตั้งครบทุกคันภายในปี 2560

ทั้งนี้ ได้มีประกาศเพิ่มมีผลบังคับใช้ทันที ให้รถตู้โดยสาร (รถร่วม บขส.) ที่วิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ – ตจว.ทุกเส้นทาง ต้องติดตั้ง GPS Tracking ให้แล้วเสร็จภายใน 31 มี.ค. 60 บังคับใช้ให้เร็วขึ้นเพื่อการบริหารจัดการเดินรถ ติดตามพฤติกรรมการให้บริการ และเพื่อความปลอดภัยตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคม

นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ประเด็นความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะเป็นนโยบายสำคัญที่กรมการขนส่งทางบกและกระทรวงคมนาคมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการเข้มงวดตรวจจับความเร็วรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก รวมถึงพนักงานขับรถให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด

ภายใต้โครงการมั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS ซึ่งเป็นการบังคับให้รถโดยสารสาธารณะทุกคัน และรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้ง GPS Tracking ตามคุณสมบัติที่กรมการขนส่งทางบก ควบคู่กับการติดตั้งเครื่องบ่งชี้พนักงานขับรถ (เครื่องรูดใบขับขี่แสดงตัวตนพนักงานขับรถ) พร้อมระบบการทำงาน Realtime online

เชื่อมโยงกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบก ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งรถโดยสารสาธารณะทุกคันจะติดตั้งครบถ้วนภายในปี 2560 เพื่อติดตามพฤติกรรมการเดินรถแบบ Realtime ทั้งพิกัด เส้นทาง ความเร็ว ชั่วโมงการทำงาน และเพื่อประสิทธิภาพในการกำกับ ควบคุม ดูแล ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมาย

ได้ออกแบบระบบให้สามารถบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ทั้งกรมการขนส่งทางบก ผู้ประกอบการ เจ้าของรถ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้โดยสารและประชาชนทั่วไป สามารถมีส่วนร่วมในการกำกับตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่แบบ Realtime ผ่าน application “DLT GPS” ทางโทรศัพท์มือถือ

ซึ่งจะแสดงผลข้อมูลของรถเช่นเดียวกันกับข้อมูลที่แสดงผลในศูนย์บริหารจัดการเดินรถด้วยระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบก และศูนย์ฯ GPS ขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ และเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมโดยสามารถแจ้งร้องเรียนทุกกรณีการให้บริการที่ผิดกฎหมายผ่านทาง application ดังกล่าวได้ด้วย

อาทิ ขับรถประมาทหวาดเสียว มีพฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ ทั้งการใช้ความเร็ว ชั่วโมงการทำงานพนักงานขับรถ ไม่มีการพักรถหรือเปลี่ยนคนขับตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ เพื่อให้มีผลบังคับใช้เร็วขึ้น สร้างความเชื่อมั่น และเพื่อการควบคุมดูแลความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในกลุ่มรถตู้โดยสารสาธารณะที่พบว่ามีการใช้ความเร็วของรถเกินกฎหมายกำหนดเป็นจำนวนที่สูงกว่ารถลักษณะอื่น

กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกประกาศเพิ่มเติม

เรื่อง กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนให้รถตู้โดยสารสาธารณะร่วมให้บริการกับบริษัท ขนส่ง จำกัด (รถตู้ร่วมบริการ บขส.) เส้นทางกรุงเทพฯ–ต่างจังหวัด ต้องติดตั้ง GPS Tracking ให้ครบถ้วนทุกคันภายใน 31 มีนาคม 2560

ส่วนรถตู้ที่ครบรอบต่ออายุทะเบียนในงวดเดือนมกราคม – มีนาคม ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการตรวจสภาพรถต่ออายุทะเบียนตามกำหนดเดิม และสำหรับรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่นให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2560 ตามประกาศเดิม ส่วนบรรทุกชนิดรถพ่วง รถลากจูง ติดตั้งครบทุกคัน ภายในปี 2560 รถบรรทุกสาธารณะ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งครบทุกคัน ภายในปี 2561 และรถบรรทุกส่วนบุคคล 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งครบทุกคันภายในปี 2562 นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังดำเนินการมาตรการกำกับ ควบคุม ดูแล พร้อมบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น

ต่อเนื่อง จริงจัง เด็ดขาด ทันที ในขั้นสูงสุดทุกกรณีทั้งพนักงานขับรถและผู้ประกอบการ ในทุกประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในการทางเดินทางของประชาชนอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยประชาชนที่พบรถโดยสารสาธารณะไม่ปลอดภัยแจ้งสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมดำเนินการจัดการปัญหาทันที อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด

กรมการขนส่งทางบก

เพิ่มทางเลือกอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนรถให้ถูกต้องตามประเภท แนะ!!! สำหรับผู้ต้องการจดทะเบียนรถตู้ส่วนบุคคลเกิน 12 ที่นั่ง หรือรถยนต์บรรทุก ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ก่อนซื้อรถให้ขอรับความเห็นชอบในหลักการกับนายทะเบียนโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวรถ

นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดเงื่อนไขการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ สำหรับรถในกลุ่มรถตู้ส่วนบุคคลที่มีจำนวนที่นั่งเกิน 12 ที่นั่ง หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม

เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสใช้รถตู้ส่วนบุคคลมาใช้รับจ้างรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุมตรวจสอบความปลอดภัย โดยกำหนดให้เจ้าของรถต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นในการใช้รถ โดยต้องไม่มีประวัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับการนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปรับจ้างขนส่ง หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้รถกระทำการดังกล่าวตลอดระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขอ ทั้งยังต้องมีสถานที่จอดรถที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองหรือคู่สมรส

และต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ให้สามารถจดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลได้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่าประชาชนหลายรายที่ซื้อรถแล้ว กฏหมาย ขนส่ง แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้ เช่น ไม่มีที่จอดรถที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ทำให้ไม่สามารถขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล

ดังนั้น เพื่อเพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน กรมการขนส่งทางบกจึงแนะนำให้ผู้ที่จะซื้อรถและจดทะเบียนตามเงื่อนไขดังกล่าว สามารถขอรับความเห็นชอบในหลักการจดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลจากกรมการขนส่งทางบกได้ โดยยังไม่จำเป็นต้องมีตัวรถหรือเลขคัสซีมาแสดง ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว

จึงนำรถพร้อมหนังสือที่ได้รับความเห็นชอบไปดำเนินการจดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลตามภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วต้องยื่นขอความเห็นชอบในหลักการใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามต้องมีหลักฐานในการขอรับความเห็นชอบถูกต้องและครบถ้วนตามเงื่อนไข ประกอบด้วย

หนังสือชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการใช้รถ รายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถจากผู้ผลิต แผนที่แสดงที่ตั้งที่จอดรถ ภาพถ่ายพร้อมแผนผังแสดงพื้นที่จอดรถและทางเข้า-ออก หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองสถานที่จอดรถ ประจำตัวประชาชนเจ้าของรถ (กรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับจริงพร้อมสำเนา

และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจลงนาม) และหนังสือรับรองการใช้รถส่วนบุคคล โดยกรมการขนส่งทางบกจะตรวจสอบหลักฐาน พิสูจน์ข้อเท็จจริง พร้อมแจ้งผลการพิจาณาภายใน 30 วัน ทั้งนี้ กรณีตรวจสอบพบในภายหลังว่ามีการยื่นหลักฐานเท็จ หรือนำรถยนต์ส่วนบุคคลไปใช้ทำการขนส่งเพื่อการค้า หรือธุรกิจส่วนตัว หรือการรับจ้างใดๆ ถือว่าทำผิดเงื่อนไขทางทะเบียนสามารถสั่งเพิกถอนทะเบียนรถได้

กรมการขนส่งทางบก เตือน!!! ผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนนำรถตู้โดยสารประจำทางอายุเกิน 10 ปี มาให้บริการ มีโทษปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท พร้อมเชิญชวนประชาชน ร่วมพิทักษ์สิทธิความปลอดภัย เลือกใช้รถตู้โดยสารถูกกฎหมาย มีมาตรฐานและได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ พบรถตู้โดยสารสาธารณะไม่ปลอดภัย แจ้ง. 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า การกำหนดอายุการใช้งานรถตู้โดยสารประจำทางไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก เพื่อมาตรฐานความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน กรณีผู้ประกอบการฝ่าฝืนนำรถตู้อายุเกิน 10 ปี มาให้บริการ ถือเป็นการประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต

มีโทษปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท เนื่องจากรถตู้โดยสารสาธารณะที่มีอายุเกิน 10 ปี บริษัทประกันภัยจะไม่รับจัดทำประกันภัยให้ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับเจ้าของรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และผู้โดยสารไม่ได้รับความคุ้มครอง จึงขออความร่วมมือประชาชนพิทักษ์สิทธิความปลอดภัย เลือกใช้บริการรถตู้ถูกกฎหมายได้รับความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ หากพบปัญหาจากการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ โทร. 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้สำหรับมาตรการนำรถโดยสารขนาดเล็กมาเปลี่ยนทดแทนรถตู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก เริ่มทดแทนเฉพาะรถตู้โดยสารที่ครบอายุการใช้งาน (ครบ 10 ปี) ก่อน ซึ่งมีการทยอยเปลี่ยนในเส้นทาง

หมวด 2 กรุงเทพฯ-ต่างจังหวัดทุกเส้นทาง และหมวด 3 ระหว่างจังหวัดกับจังหวัด เฉพาะเส้นทางที่มีจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างทาง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 ส่วนเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ที่ให้บริการในกรุงเทพมหานครและในภูมิภาค รวมถึงเส้นทางหมวด 3 วิ่งระหว่างจังหวัดกับจังหวัด ที่ไม่มีจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างทาง

มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งที่จะเข้าหลักเกณฑ์ปี 2562 ขณะนี้ยังสามารถนำรถตู้โดยสารมาเปลี่ยนทดแทนคันเดิมได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2562 แต่กำหนดเงื่อนไขต้องเป็นรถใหม่ หรือรถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 2 ปี และจะมีระยะเวลาในการวิ่งบริการในเส้นทางรวมแล้วไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนรถครั้งแรก ทั้งยังต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเดินรถอย่างเคร่งครัด

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำหนดอายุรถตู้โดยสารห้ามเกิน 10 ปี โดยการนำรถโดยสารขนาดเล็กมาตรฐาน 2 (จ) จำนวนที่นั่งไม่เกิน 20 ที่นั่ง (ที่ไม่ใช่ลักษณะรถตู้) และหรือรถโดยสารมาตรฐาน 2 (ค) จำนวนที่นั่งตั้งแต่ 21 – 30 ที่นั่ง ที่ต้องมีระบบเบรกแบบ ABS (Anti-lock Brake System)

หรือระบบห้ามล้อแบบอื่นที่มีมาตรฐานเท่ากันหรือสูงกว่า พร้อมติดตั้ง GPS Tracking และอุปกรณ์แสดงผลความเร็ว (Speed Monitor)ตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกมาให้บริการแทน เพื่อรักษามาตรฐานการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ แต่เพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการให้มีช่วงเวลาปรับตัวกรมการขนส่งทางบก ได้มีมาตรการช่วยเหลือที่เหมาะสมเพื่อจูงใจและลดผลกระทบของผู้ประกอบการ

อาทิ การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บขส., ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ภายใต้โครงการ “เปลี่ยนรถโดยสารประจำทางขนาดเล็กแทนรถตู้โดยสาร” และได้จัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จรถตู้โดยสารประจำทาง ณ บริเวณอาคาร 3 ชั้น 1 อำนวยความสะดวกให้คำปรึกษาแนะนำกรณีรถตู้โดยสารประจำทางจะครบกำหนดอายุ 10 ปี และขั้นตอนการ จดทะเบียนรถแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) พร้อมช่วยเหลือเจ้าของรถในกรณีที่มีความประสงค์ที่จะทำการเปลี่ยนรถทดแทนรถคันเดิมที่หมดอายุให้ได้รับความสะดวกรวดเร็ว อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด

สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS

กลับหน้าหลัก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *