เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

 

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ – เป็นความจริงอันแสนเจ็บปวด ความขัดแย้งทางการเมืองมักนำมาซึ่งความรุนแรงถึงชีวิตอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในประเทศไทย แต่ไหนแต่ไรมา ประเทศไทยก็เฉกเช่นประเทศอื่นที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ถ้าครั้งใหญ่ๆ ที่ทุกคนน่าจะจำได้ดีก็อย่างเช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาคม, เหตุการณ์ยึดสนามบิน, เหตุการณ์ราชประสงค์ ฯลฯ ซึ่งทุกครั้งก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่จะได้รับผลกระทบก่อนเพื่อน เกิดเหตุการณ์อะไรไม่ดี หุ้นก็ดิ่งรับข่าวไวเสียยิ่งกว่าสำนักข่าวไหนๆ   และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬก็เป็นหนึ่งในความขัดแย้งครั้งใหญ่ ความขัดแย้งที่ทำให้ดัชนี SET Index ร่วงลงไปเกือบ 9% พร้อมกับผู้เสียชีวิตอีกนับสิบและผู้บาดเจ็บอีกนับร้อย

 

พฤษภาคม ในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย 86 ปี เป็นเดือนที่มีความรุนแรงทางการเมืองสำคัญถึง 3 เหตุการณ์ ล้วนเกี่ยวพันกับทหาร และ การสูญเสียของประชาชน ด้านครอบครัวของผู้สูญเสีย และนักวิชาการเรียกร้องให้สังคมเรียนรู้จากเหตุการณ์เหล่านี้ เพื่อป้องกันความรุนแรงในอนาคต บีบีซีไทยชวนผู้อ่านทบทวนความจำในเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ 2535 พฤษภาเลือด 2553 และพฤษภารัฐประหาร 2557 พฤษภาทมิฬ 2535 17 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิต และสูญหาย ร่วมรำลึกเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” เป็นวันที่รัฐบาลของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี ส่งทหารและตำรวจหลายพันคน พร้อมรถถังและรถหุ้มเกราะเข้าสลายการชุมนุมต่อต้านเขาที่สะพานผ่านฟ้า โดยใช้กระสุนจริง ทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหายเป็นจำนวนมาก

 

ก่อนหน้านั้น เมื่อ 23 ก.พ. 2534 พล.อ. สุจินดา ร่วมกับ ผู้บัญชาการเหล่าทัพในนามคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ทำรัฐประหาร โค่นรัฐบาลของ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัน ในข้อหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยตัวเขาสัญญาว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกฯ

รสช. ตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยนักกฎหมายและนักวิชาการ เพื่อประกาศใช้ได้ในวันที่ 9 ธ.ค. 2534 จนนำไปสู่การเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2535 พรรคสามัคคีธรรม ที่ก่อตั้งโดยเครือข่าย รสช. ได้คะแนนเสียงมากที่สุด รวบรวมพรรคการเมืองอื่นๆในสภาผู้แทนฯ เลือกพล.อ.สุจินดา ที่ไม่ได้ลงสมัคร ส.ส. เป็นนายกรัฐมนตรี ท่ามกลางความไม่พอใจของชนชั้นกลาง ออกมาชุมนุมตามท้องถนน โจมตี อดีตผู้บัญชาการทหารบกที่พูดว่า “เสียสัตย์เพื่อชาติ” พร้อมกับเรียกร้องให้เขาลาออกจากตำแหน่ง

  • 4 ปีรัฐประหาร : “คนอยากเลือกตั้ง” นัดบุกทำเนียบ
  • “โปรดอยู่ในความสงบ” มุขเดิมของ คสช. จากประชามติ สู่นับถอยหลังเลือกตั้ง

การปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลตั้งแต่ 17-21 พ.ค. ทำให้เกิดความสูญเสีย กระทรวงมหาดไทยรายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 44 ราย บาดเจ็บรวม 1,728 ราย (สาหัส 47 ราย) และสูญหายอีก 48 ราย แต่หลายฝ่ายคาดกันว่าตัวเลขจริง สูงกว่านั้นมาก

พ่อผู้สูญเสียลูกชายในช่วงพฤษภาทมิฬ ถือรูปลูกชายของเขาเบื้องหลังคือรูปของผู้ที่เสียชีวิตและสูญหายจากเหตุการณ์เดียวกัน สมลักษณ์ หุตานุวัฒน์ หนึ่งในผู้ปฏิบัติงานศูนย์อาสาสมัครเพื่อตามหาผู้สูญหายไปจากเหตุการณ์ดังกล่าว กล่าวกับบีบีซีไทยว่า แม้ล่วงเลยมา 26 ปีแล้ว จำนวนตัวเลขของผู้เสียชีวิต และสูญหายในวันนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะยืนยันได้ “ยังคงเป็นแดนสนธยาของคนไทยในการสูญเสียครั้งนี้… ได้แต่หวังว่าสักวันจะมีคนเปิดเผยข้อเท็จจริงออกมา” เมื่อปี 2535 สมลักษณ์ได้ร่วมกับ รสนา โตสิตระกูล และเพื่อนนักกิจกรรมอื่น ๆ ก่อตั้ง “กลุ่มสันติอาสา” เพื่อคอยประสานงาน ช่วยเหลือผู้ที่ไปชุมนุมที่สนามหลวงและในบริเวณใกล้เคียง

 

พล.อ. ประยุทธ์ขณะลงประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2016

ในวันที่ 17 พ.ค. กลุ่มของเธอตระเวณดูสถานการณ์บริเวณนั้น “พบว่ามีการใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราก็เกรงว่าจะซ้ำรอย 6 ตุลาคม 2519 เราก็พยายามประสานงานด้านต่าง ๆ เพื่อบรรเทาสถานการณ์ลง โดยเฉพาะช่วยกันร่างฎีกาเพื่อถวายให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9)… แต่เราก็ทำไม่สำเร็จเพราะเราเข้าไปถวายฎีกาไม่ถึงพระองค์ท่าน แล้วมันก็เกิดขึ้นจริง ๆ “

“พวกเราเข้าไปที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ขอดูคนเสียชีวิตและบาดเจ็บ ตอนนั้นมีคนเสียชีวิตราว 5-6 คนอยู่ที่นั่น พวกเราก็ถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐาน และพบว่าเป็นการยิงระยะเผาขนเพราะที่ร่างยังมีรอยเขม่าดินปืน เราเห็นรอยยิงกลางหน้าผาก หรือเจาะที่หัวใจ”

20 พ.ค. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำผู้ชุมนุม เข้าเฝ้าเพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ต่อมา 24 พ.ค. พลเอกสุจินดา ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ให้ นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกฯต่อมาจนกว่าจะได้ผู้นำรัฐบาลคนใหม่

 

พฤษภาเลือด 2553

14-19 พ.ค. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ เปิดยุทธการ “กระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์” เพื่อยุติการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เรียกร้องให้ยุบสภา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

ทหารได้ปฏิบัติการ “ขอคืนพื้นที่” และเกิดเหตุยิงเข้าใส่กลุ่มประชาชนในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดปทุมวนาราม ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก

การชุมนุมมีสาเหตุจากการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เมื่อ ธ.ค. 2551 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาสั่งยุบพรรคพลัง ประชาชน ซึ่งมีเสียงข้างมากและเป็นผู้นำรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หัวหน้าพรรคพลังประชาชนพ้นจากตำแหน่งนายกฯ

รายงานของ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณี เม.ย.-พ.ค. 2553 หรือ ศปช. พบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 94 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตในปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ระหว่าง 14-19 พ.ค.

 

พฤษภารัฐประหาร 2557

ท่ามกลางการชุมนุมในกทม.ที่ออกมาขับไล่รัฐบาลตั้งแต่ปลาย ต.ค. 2556 และเหตุลอบยิงและระเบิดเป็นระลอก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นออกมาประกาศเมื่อ 11 พ.ค. 2557 สยบเสียงลือว่าทหารจะทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลรักษาการที่นำโดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

 

“ทหารไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และไม่ได้อยู่เบื้องหลังการดำเนินการใด ๆ ทางการเมือง ซึ่งควรยุติการวิพากษ์วิจารณ์ ว่าทหารจะปฏิวัติรัฐประหารเพราะไม่ใช่เวลาที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์กัน”

 

อย่างไรก็ตาม 20 พ.ค. พล.อ. ประยุทธ์ ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) โดยมี ตัวเขาเป็นผู้อำนวยการ จากนั้น 22 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ได้ประกาศทางโทรทัศน์ ตั้ง “คณะรักษาความสงบ แห่งชาติ” (คสช.) และได้ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ และได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรต่อจาก กอ.รส.

 

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อไปศาลในวันที่ 21 กรกฎาคม 2017 ก่อนที่จะหายตัวไปในวันฟังคำพิพากษา ก่อนหน้านี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2556 ท่ามกลางการชุมนุมต่อต้านของกลุ่ม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

การประกาศยุทธการ Bangkok Shutdown เพื่อปิดพื้นที่ 7 จุดสำคัญ ในกรุงเทพฯ ของกปปส. ส่งผลให้ในวันที่ 21 ม.ค. 2557 รัฐบาลรักษาการประกาศใช้พระราชกำหนด สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้ทหารเข้ามามีบทบาทในการดูแลควบคุมสถานการณ์ แต่ดูเหมือนว่าควบคุมไม่ได้

 

การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 2557 ถูกขัดขวางจากกลุ่มกปปส. ในหลายพื้นที่ ท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6:3 ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะไม่ได้มีการเลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

 

อีก 3 เดือนต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อ 7 พ.ค. ให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นายกฯ รักษาการ เนื่องจาก การโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี “เป็นการโยกย้ายเพื่อพวกพ้อง เป็นการกระทำอันขาดคุณธรรม จริยธรรม”

 

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลให้ กลุ่มสนับสนุน ยิ่งลักษณ์ ในนาม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาชุมนุมอีกครั้ง หลายฝ่ายเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านี้มีส่วนผลักให้ทหารเข้ามายึดอำนาจโดยมีคำมั่นว่า “จะคืนความสุขให้แก่ประชาชน” หลังจากนั้นอีก 4 เดือน สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งสมาชิกสภาได้รับการแต่งตั้งมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร มีมติเอกฉันท์เลือกพล. อ. ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับสัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เราได้เรียนรู้อะไรจาก 3 เหตุการณ์ พ.ค. สมลักษณ์ สรุปว่าในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา “ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง” ในการเมืองแบบอำนาจนิยมของไทยแม้แต่น้อย รัฐบาลยังคงร่วมมือกับนายทุนหาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และการปิดปากประชาชนก็ยังคงมีอยู่ 

 

“บทเรียนของ พ.ค. 35 ควรจะเป็นบทเรียนสุดท้ายในการใช้ความรุนแรงกับผู้มีความเห็นแตกต่าง ในเรื่องการบริหารบ้านเมือง แม้ว่าปัจจุบันใช้วิธีอื่น ใช้กฎหมาย อย่าง ม.44 ไม่เอาชีวิตคน แต่ก็ยังคงเป็นระบบอำนาจนิยมเผด็จการโดยใช้กฎหมายเข้าจัดการกับคนไม่เห็นด้วยอยู่ดี”

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับ 20 มี.ค. 2561 ว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนนอก หลังการเลือกตั้งที่อาจมีขึ้นในปีหน้า อย่างที่รัฐธรรมนูญ 2560 ได้เปิดช่องเอาไว้ อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์คล้ายกับที่เกิดกับ พล.อ. สุจินดาเมื่อปี 2535 ซึ่งจบด้วยการนองเลือด

 

ขณะที่ อดิศร หมวกพิมาย จากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามว่าทุกครั้งที่มีการทำรัฐประหาร ผู้คนจะมีความรู้สึกในทางที่ดี ผู้ทำรัฐประหารได้รับการสรรเสริญว่าเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาประเทศชาติ โดยเฉพาะการฉ้อราษฎร์บังหลวง

 

“แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้สึกกลับกลายเป็นต่อต้าน เพราะมันไม่ได้แก้ไขเรื่องโครงสร้าง เราต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาบ้างหรือเปล่า”

 

แต่เขาก็เห็นว่าสถานการณ์ในช่วง 26 ปีเปลียนแปลงไปมาก และยังมีความหวัง “แม้ยังจะมีเรื่องเผด็จการ การให้ประโยชน์พวกพ้องของตัวเองอยู่ แต่สังคมก็เริ่มตรวจสอบมากขึ้น โดยเฉพาะการมาถึงของสื่ออินเทอร์เน็ต ทำให้รัฐไม่สามารถจะทำอะไรได้อย่างที่เคยทำมาเมื่อสามสิบสี่สิบปีอีกต่อไป”

 

 

กลับสู่หน้าหลัก http://winunleaked.info