เหตุการณ์ ทางการเมือง
เหตุการณ์ ทางการเมือง – กรณี 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ก่อนอื่น คงต้องเริ่มต้นจากกรณี 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ครั้งนั้น นับเป็นครั้งแรกที่นักศึกษาและ ประชาชนที่ปราศจากอาวุธ และไม่เคยมีส่วนร่วมทางการเมือง ได้ลุกฮือขึ้นสู้ต่อสู้ จนกระทั่งสามารถโค่นรัฐบาล เผด็จการ ที่นำโดยสถาบันทหาร และระบบราชการ ลงได้ หลังจากที่ระบอบนี้ ครอบงำการเมืองไทย อยู่นานถึง 16 ปีนับตั้งแต่การยึดอำนาจ ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเดือนตุลาคม 2501 การเปลี่ยนแปลงเริ่มตั้งแต่เมื่อเกิดความรุนแรง ในเช้าวันที่ 14 ตุลาคม จากการ เกิดเหตุปะทะ ของนักศึกษาประชาชนและ เจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร จากนั้นการต่อสู้ ของฝ่ายประชาชนลุกลาม จนทำให้รัฐบาลไม่อาจควบคุม สถานการณ์ไว้ได้ ในที่สุด จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีในเวลาเย็นวันที่ 14 ตุลาคม 2516 นั้นเอง จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์จึงได้กลับคืนสู่ สภาพปกติ ในวันที่ 15 ตุลาคม หลังจากที่อดีตผู้นำ 3 คน คือ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางหนี ออกจากประเทศ
เหตุการณ์ ทางการเมือง แม้ว่าจะประกาศเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่นายสัญญา ธรรมศักดิ์ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของการบริหารประเทศไปไม่น้อย จากการตั้งคณะรัฐบาลที่มีพลเรือนเป็นส่วนข้างมาก คือ 19 คน โดยมีตำรวจและทหารเพียง 5 คน ซึ่งส่วนมากดำรงตำแหน่งในส่วนกลาโหมและมหาดไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การรัฐประหารเดือนพฤศจิกายน 2494 เป็นต้นมา ที่คณะบริหารมีสัดส่วนของพลเรือนมากเช่นนี้
เหตุการณ์ ทางการเมือง จากนั้น คณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามผลการปฏิบัติราชการ (กตป.) ซึ่งแต่เดิม มี พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร เป็นเลขาธิการ ถูกยกเลิก นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ประกาศว่า จะปกครองประเทศ ด้วยระบอบประชาธิปไตย จะให้เสรีภาพแก่ประชาชน อย่างเต็มที่ พยายามที่จะแสดงความใกล้ชิดกับประชาชนโดยการออกรายการโทรทัศน์ที่ชื่อว่า “พบประชาชน” เป็นระยะๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลมิได้บริหารประเทศ โดยพลการดัง ที่ผ่านมา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ก็ยังให้สัญญาที่จะแก้ปัญหาของประเทศ ในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาความเดือดร้อน ของชาวนา ปัญหาความยากจนของประชาชน เป็นต้น และสัญญาว่าจะดำเนินการ ให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว และให้มีการสอบสวนคดีสังหารหมู่ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ส่วน พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ได้เสนอเรื่องให้มีการยกเลิกการพระราชทาน ยศจอมพลแก่นายทหาร ทำให้ยศจอมพลสิ้นสุดลง
เหตุการณ์ ทางการเมือง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็ประสบวิกฤตอย่างหนัก เพราะปัญหาหลายด้านรุมเร้า ส่วนหนึ่งมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น อันเนื่องจากวิกฤตการณ์ น้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเกิดขึ้นใน พ.ศ.2517 ทำให้รัฐบาลต้องขึ้นราคาน้ำมันภายในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบ อย่างมากต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ทำให้ประชาชนเดือดร้อนมากขึ้น นอกจากนี้ก็คือการเผชิญกับกระแสการตื่นตัว ของประชาชน ทำให้เกิดการประท้วงจากประชาชน ส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม จนรัฐบาลไม่อาจจะแก้ปัญหาได้
เหตุการณ์ ทางการเมือง การควบคุมเสถียรภาพ ทางการเมืองก็ทำได้ยาก ดังนั้น ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2517 นายกรัฐมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ จึงลาออกจากตำแหน่ง แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งกลับมาใหม่ และบริหารประเทศต่อมาอีก 9 เดือน หลังจากที่ได้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ในวันที่ 7 ตุลาคม 2517 และให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 26 มกราคม 2518 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ดังนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรค จึงได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนใหม่ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ และได้มีการตั้งรัฐบาล 2 พรรคระหว่างพรรค ประชาธิปัตย์และเกษตรสังคม
แต่ปรากฏว่าใน วันแถลงนโยบาย สภาลงมติไม่รับรองนโยบายรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช จึงต้องลาออก จากตำแหน่ง และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ได้รวบรวมเสียงพรรคต่างๆ 12 พรรคมาสนับสนุนจนมากเพียงพอ จึงได้เข้ารับตำแหน่งนายก รัฐมนตรีแทน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้แถลง นโยบายหลักคือ การผันเงินสู่ชนบท สงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ในกรุงเทพฯ ให้ขึ้นรถเมล์ฟรี รักษาพยาบาลฟรี และวางนโยบายต่างๆประเทศให้สหรัฐฯ ถอนทหารจากประเทศไทย รัฐบาลชุดนี้ได้รับการรับรอง จากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2518
รัฐบาลของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บริหารประเทศ ต่อจากนั้นมาได้นาน 10 เดือน ก็เกิดวิกฤตการณ์อย่างหนัก ในคณะรัฐบาล หลังจากที่นายกรัฐมนตรีพยายาม จะดึงพรรคเกษตร สังคมมาเข้าร่วมรัฐบาล แต่กลับก่อให้เกิดความแตกแยก อย่างมากในหมู่พรรคร่วม รัฐบาลพรรคอื่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์จึงได้ประกาศ ยุบสภาผู้แทนราษฏรในวันที่ 12 มกราคม 2519 และประกาศให้ มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 4 เมษายน 2519
ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับ ชัยชนะด้วยเสียงมากที่สุด แม้กระทั่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ก็พ่ายแพ้ ในการเลือกตั้งที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ดังนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ จึงกลับมารับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำร่วมกับ พรรคชาติไทย ที่นำโดย พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร พรรคธรรมสังคม นำโดย พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ และ พรรคสังคมชาตินิยม นำโดย นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ รัฐบาลชุดนี้ บริหารประเทศมาจนถึง เมื่อเกิดเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 จึงสิ้นสภาพ อย่างเป็นทางการ ด้วยการรัฐประหาร ของฝ่ายทหาร