เหตุการณ์14ตุลา.2516

เหตุการณ์14ตุลา.2516

เหตุการณ์14ตุลา.2516

 

ช่วงปีพุทธศักราช 2512-2515 เยาวชน-คนหนุ่มสาว-รุ่นใหม่ ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเพื่อสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เข้าร่วมสังเกตุการณ์การเลือกตั้งทั่วไปในปีพุทธศักราช 2512 ออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท วิพากษ์วิจารณ์สังคม มีบทบาทเป็นพลังผลักดันให้เกิดนโยบายต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่เฉพาะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต่อต้านการครอบงําทางเศรษฐกิจโดยต่างประเทศ ต่อต้านความหรูหราฟุ่มเฟือย กังวลและห่วงใยการขาดดุลการชําระเงิน รวมไปจนกระทั่งการเสนอแนวทางในการรักษาทรัพยากรและสภาพแวดล้อม ศิลปะและวรรณกรรมเพื่อชีวิต

 

เยาวชน-คนหนุ่มสาว-รุ่นใหม่ รวมตัวกันต่อต้าน ‘ภัยขาว-ภัยเหลือง-และภัยเขียว’ รวมตัวกันเป็นกลุ่มอิสระตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับมหาวิทยาลัย ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นระดับวิทยาลัยการศึกษาหรือวิทยาลัยครูเรื่อยลงไปจนถึงระดับโรงเรียนมัธยม และก็เกิดองค์กร เช่น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2513) ศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย

 

ระหว่างปีพุทธศักราช 2514-2516 ท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงบทการเมืองระดับโลก นั่นคือจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของความเย็น การเมืองระหว่างประเทศเปลี่ยนจากการเผชิญหน้าของ 2 ค่าย กลายเป็นการเมือง 3 เส้า สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และจีน ส่วนการเมืองภายในของไทยที่ดูว่าจะ ก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยบ้าง กล่าวคือ มีประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2511 และมีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรก ในรอบทศวรรษในปีพุทธศักราช 2512 ก็ตาม แต่ก็ปิดฉากลงอีกด้วยวงจรอุบาทว์ของการยึดอํานาจรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ‘ปฏิวัติตนเอง’ ในปีพุทธศักราช 2514

 

เมื่อถึงจุดนี้พฤติกรรมของคณาธิปไตย ถนอม-ประภาส ณรงค์ ก็กลายเป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่สามารถจะยอมรับต่อไปอีกได้ การปิดกันเสรีภาพผนวกกับความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการ ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ ข้าวยากหมากแพง ข้าวสารขึ้นราคา การใช้อภิสิทธิ์ การเล่นพรรคเล่นพวก ในบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ ดูเหมือนจะมีพลังของนิสิตนักศึกษาเท่านั้น ที่สามารถจะเป็นหัวหอกเคลื่อนไหว คัดค้าน และผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ในบ้านเมือง

 

การชุมนุมครั้งใหญ่ในเดือนตุลาคม 2516 เกิดขึ้นด้วยความไม่พอใจต่อรัฐบาลเผด็จการจากเหตุสะสมต่างๆ หลายประการ อันสืบเนื่องจากการใช้อำนาจโดยมิชอบ โดยเฉพาะการควบคุมตัวกลุ่มบุคคล 13 คน (หรือที่รู้จักกันในชื่อ “13 ขบฏรัฐธรรมนูญ”) ที่บางส่วนออกมาแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม

 

การจับกุมตัวบุคคลกลุ่มดังกล่าวทำให้เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วขยายสู่ถนนราชดำเนินซึ่งคาดกันว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมกว่าครึ่งล้าน โดยในคืนวันที่ 13 รัฐบาลได้ให้สัญญาว่าจะทำตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม และยอมปล่อย 13 ขบถรัฐธรรมนูญ รวมทั้งจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งปี แต่หลังจากเจรจากลุ่มนักศึกษายังคงชุมนุมต่อไปอีกหนึ่งคืน และบางส่วนได้เข้ายึดกรมประชาสัมพันธ์เพื่อใช้ระบบวิทยุกระจายเสียงของรัฐ4

วันที่ 14 ตุลาคม ก่อนเวลาเที่ยงไม่นาน รัฐบาลที่เคยรับปากจะทำตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้ตัดสินใจใช้กำลังสลายฝูงชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน อ้างว่า เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และอธิปไตยของชาติ หลังผู้ชุมนุมพยายามบุกยึดสถานที่ราชการด้วยอาวุธปืนที่บุก “ปล้น” มาก่อนหน้านั้น

 

หลังเกิดเหตุรุนแรง จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอดีตประธานศาลฎีกา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ทรงขอให้ประชาชนชาวไทยร่วมมือกันแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว

 

หลังการออกอากาศของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจได้ราวหนึ่งชั่วโมง ทหารได้เปิดฉากยิงขึ้นอีกครั้งหลังนักศึกษาพยายามใช้รถโดยสารเข้าพุ่งชนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งพยานผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 1 ราย จากนั้นจึงมีการประกาศกฎอัยการศึก เริ่มต้นในเวลา 22 นาฬิกา แต่ทั้งทหาร และตำรวจก็มิได้ใช้ความพยายามในการสลายการชุมนุมของประชาชนแต่อย่างใด

 

นักศึกษาหลายรายกล่าวว่า พวกเขาได้ยินพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้ว แต่ไม่เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล พวกเขาจึงยังคงชุมนุมต่อไป จนกว่าจะแน่ใจว่า จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร (รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) จะพ้นจากอำนาจจริงๆ จนกระทั่งวันที่ 15 ตุลาคม จึงได้มีการประกาศว่า “3 ทรราช” (ถนอม, ประภาส และณรงค์ กิตติขจร บุตรชายถนอม) จากรัฐบาลชุดเดิมได้เดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว เหตุการณ์จึงคลี่คลายลง

 

เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการผูกขาดอำนาจของ จอมพลถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ จอมพลประภาส จารุเสถียร ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ทำให้นายทหารคนอื่นหมดโอกาสขยับ

 

เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ได้มอบหมายให้นักวิชาการคนหนึ่งเขียน “ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา” ฉบับใหม่ โดยพุ่งเป้าไปที่ 2 เหตุการณ์คือ การปะทะหน้าสวนจิตรลดา เช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และกรณี “ชายชุดดำ” บนหลังคาตึกกองสลากกินแบ่ง ในตอนสายวันเดียวกัน

“พ.อ.ณรงค์” ปักใจเชื่อว่า พล.อ.ประจวบ สุนทรางกูร ที่รับคำสั่งจาก พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ให้สั่ง พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ให้ใช้ความรุนแรงกับนักศึกษาที่สลายตัว และเดินออกไปบริเวณหน้าสวนจิตรลดา

 

พูดภาษาชาวบ้านก็ว่า คดีพลิกกลายเป็นว่า ฝ่ายของ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เป็นผู้จุดชนวนเหตุการณ์นองเลือดเมื่อตุลาคม 2516 รวมทั้งกรณีชายชุดดำ ก็พาดพิงถึง “ทหารเสือพราน” ที่อยู่ในการบัญชาการของ “เทพ 333” แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนใดๆ

ทำให้ “คนรุ่นนั้น” มองว่า พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร พยายามจะให้ “คนอื่น” ตกเป็นจำเลยในคดี 14 ตุลา แทนสองจอมพล และหนังสือประวัติศาสตร์ 14 ตุลาเล่มนั้น ได้ถูกตีโต้จากฝ่ายคนเดือนตุลาอย่างหนัก

 

จริงๆ แล้ว “ผู้กุมความลับเดือนตุลา” คนแรกคือ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา เนื่องจากหลังวันมหาวิปโยค เขาได้กลายเป็น “ผู้มีบารมี” คอยค้ำยัน “รัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์” และวางแผนจัดตั้งรัฐบาลผสม 11 พรรค ที่มี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

หลังเกษียณอายุราชการ เมื่อ 30 กันยายน 2518 “พล.อ.กฤษณ์” เดินเกม “ล้มคึกฤทธิ์” โดยอาศัยพรรคสังคมชาตินิยม ของประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และพรรคธรรมสังคม ของ พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ เป็นตัวประสานพรรคอื่นๆ แต่ “หม่อมคึกฤทธิ์” ไม่ยอมถอย และชิงประกาศยุบสภา หักหลังฝ่าย พล.อ.กฤษณ์

 

การเลือกตั้งปี 2519 “พล.อ.กฤษณ์” สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ สะกัด “หม่อมคึกฤทธิ์” จนเป็นผลสำเร็จ แต่ในเดือนเมษายน 2519 “พล.อ.กฤษณ์” ได้ถึงแก่กรรมอย่างมีเงื่อนงำ หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

ความตายของ พล.อ.กฤษณ์ และ พล.ต.อ.วิฑูรย์ ยังคงทำให้ความลับเดือนตุลา..เป็น “ความลับ” ต่อไป!

 

 

กลับสู่หน้าหลัก http://winunleaked.info