เหตุการณ์ ปัจจุบัน ภูมิหลังทางการเมืองของสังคมไทย ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยาวนาน
เหตุการณ์ ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นรัฐเอกราชที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เมื่อปี 2475 ประเทศไทยมีการรัฐประหารแล้วอย่างน้อย 13 ครั้ง และมีการก่อกบฏที่ไม่ประสบความสำเร็จอีก 11 ครั้ง มีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ ช่วงเวลาที่ประเทศไทยถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารนั้นรวมแล้วยาวนานกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 เป็นที่มาของการก่อตัวขึ้นของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นช่องทางที่พรรคเมืองนำโดยมหาเศรษฐีอย่างทักษิณ ชินวัตร พุ่งขึ้นสู่อำนาจอย่างสวยหรู
การบริหารงานและนโยบายใน “รอบอบทักษิณ” ได้รับความนิยมจากหมู่คนจนชั้นล่างโดยเฉพาะในชนบท ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยข้อกล่าวหาเรื่องการคอร์รัปชั่น ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เป็นที่ถูกใจสำหรับกลุ่มสถาบันและอำนาจเก่า เช่น ทหาร ศาล ข้าราชการ และกลุ่มคนชั้นกลาง ซึ่งต่อมาได้ร่วมมือกันต่อต้านอำนาจทางการเมืองชนิดใหม่นี้ ที่รู้จักกันในนาม “นักธุรกิจการเมือง” กลุ่มต่อต้านอำนาจระบอบทักษิณจัดการชุมนุมใหญ่โดยใช้สีเหลืองเป็นสีหลัก เนื่องมาจากเป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ขณะที่กลุ่มที่เคลื่อนไหวสนับสนุนทักษิณจัดชุมนุมโดยใช้สีแดง
ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของสามัญชน ความขัดแย้งทางการเมืองพุ่งขึ้นในช่วงปี 2548
ด้วยการชุมนุมต่อเนื่องของกลุ่มเสื้อเหลืองและนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 หลังจากนั้นมาขบวนการของของคนเสื้อแดงที่ต่อสู้กับอำนาจที่มองไม่เห็นนอกรัฐธรรมนูญก็เริ่มต้นขึ้น พรรคของทักษิณยังคงได้รับเลือกให้เป็นรัฐบาลหลังจากที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ซึ่งร่างโดยคณะของรัฐบาลทหาร ประกาศใช้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2554
ท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อต้านและข้อกล่าวหามากมาย ตั้งแต่ปลายปี 2556 การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายอนุรักษ์นิยม กลุ่มชนชั้นนำ องค์กรพัฒนาเอกชนบางส่วน เรียกตัวเองว่า คณะกรรมการประชาชน
winunleaked
เพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เริ่มขึ้นหลังรัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามผ่านกฎหมายนิรโทษกรรม (เพื่อช่วยทักษิณ) และปรากฏข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตโครงการจำนำข้าว นำไปสู่การยึดกรุงเทพมหานครและปิดตายประเทศอยู่หลายเดือน ยิ่งลักษณ์ประกาศยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่
แต่กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้จัดระบอบการปกครองแบบใหม่โดยสภาประชาชน และไม่ต้องการจัดการเลือกตั้ง สถานการณ์นี้นำไปสู่ทางตันทางการเมืองและเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายใต้ชื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
สถานการณ์พิเศษในยุคของ คสช.
ด้วยข้ออ้างว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทย คสช. เริ่มจากใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้วยข้ออ้างทางการเมืองและทางกฎหมาย และจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ขึ้นมาประกาศใช้เอง อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ คสช. อยู่ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว มาตรา 44, 47 และ 48 ซึ่งมาตรา 44 ให้ คสช. มีอำนาจเบ็ดเสร็จที่จะออกคำสั่งในทางบริหาร นิติบัญญัติ หรือตุลาการก็ได้ “เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ
การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน” ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช.ลอยตัวอยู่เหนือกระบวนการตรวจสอบโดยรัฐสภาและศาลได้ มาตรา 47 รับรองให้ ประกาศและคำสั่งของ คสช. ทั้งหลายชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด ขณะที่มาตรา 48 กำหนดให้การกระทำทั้งหลายของ คสช. และผู้ที่ได้รับมอบหมายไม่ต้องรับผิดโดยสิ้นเชิง ยุทธศาสตร์สำคัญของ คสช.
เพื่อที่จะรักษาฐานอำนาจของตัวเองคือ การใช้อำนาจอ้างอิงจากกฎหมายต่าๆ เพื่อปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น หรือการทำกิจกรรมของผู้ที่เห็นต่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่คัดค้านการทำรัฐประหาร หรือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกกฎหมายหรือนโยบายต่างๆ ของ คสช. รวมทั้งการใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ มาตรา 112 ความผิดฐานยุยงปลุกปั่น มาตรา 116
หรือการออกกฎหายใหม่ขึ้นมาเพื่อเพิ่มอำนาจให้ทหารเข้ามาอยู่เหนือระบบยุติธรรม เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558, ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558, พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2558 และการแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ในปี 2559. คสช. ใช้มาตรการเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวอย่างน้อย 1,300 คน และบังคับให้เข้ากระบวนการ “ปรับทัศนคติ” คสช. ยังจับกุมบุคคลไปแล้วอย่างน้อย 500 คน ด้วยเหตุผลทางการเมือง ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีพลเรือนที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคง” และคดีของผู้ที่ไม่ก้มหัวให้ คสช.
ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น
เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ไปสู่การเดินหน้าตามแนวทางของตัวเองเท่านั้น เห็นได้ชัดจาก การใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2559 กับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายนี้กำหนดโทษจำคุกสูงถึง 10 ปี สำหรับการรณรงค์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญของ คสช. โดยอ้างอิงถ้อยคำกว้างๆ อย่าง รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม ข่มขู่ บิดเบือน ฯลฯ ท่ามกลางบรรยากาศที่ไม่เปิดกว้าง รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560
ก็ได้บรรจุกลไกต่างๆ ให้ทหารสามารถกลับมาอยู่เหนือการเมืองของไทยได้อีกยาวนาน เช่น การให้วุฒิสภามาจากการคัดเลือกของ คสช. ทั้งหมด การออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่เสียเปรียบ นอกจากนี้ “มาตรา44” ยังถูกใช้ออกคำสั่งต่างๆ แล้วกว่า 160 ฉบับ คณะปฏิรูปชุดแล้วชุดเล่าที่แต่งตั้งโดย คสช. ก็ยังคงทำงานร่างแผนการสำหรับประเทศอีก 20 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมรัฐบาลในอนาคตที่มาจากการเลือกตั้ง
zokzak
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16:30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) อันมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ รัฐประหารโค่นรัฐบาลรักษาการนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นับเป็นรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย รัฐประหารดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2556 เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย ก่อนหน้านั้นสองวัน คือ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่เวลา 3.00 น.
กองทัพบกตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) และให้ยกเลิกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น กอ.รส. ใช้วิธีการปิดควบคุมสื่อ ตรวจพิจารณาเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และจัดประชุมเพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองของประเทศ แต่การประชุมไม่เป็นผล จึงเป็นข้ออ้างรัฐประหารครั้งนี้
หลังรัฐประหาร มีประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงยกเว้นหมวด 2 คณะรัฐมนตรีรักษาการหมดอำนาจ ตลอดจนให้ยุบวุฒิสภา จนเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภาฯ มีมติเลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เป็นนายกรัฐมนตรี โดยการรัฐประหารครองอำนาจ 5 ปี 1 เดือน3สัปดาห์ 3 วัน จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 211 ฉบับ คำสั่งนายกรัฐมนตรีอย่างน้อย 34 ฉบับ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 133 ฉบับ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 214 ฉบับ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ยังนับเป็นสภาแรกที่ออกพระราชบัญญัติมากถึง 450 ฉบับ พระราชกำหนด 16 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) เฉพาะที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยไม่นับรวมการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อีก 4 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 470 ฉบับ (ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562) หลายประเทศประณามรัฐประหารครั้งนี้ รวมทั้งมีการกดดันต่าง ๆ เช่น ลดกิจกรรมทางทหารและลดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บางประเทศวางตัวเป็นกลาง แต่คนไทยจำนวนหนึ่งแสดงความยินดี โดยมองว่าเป็นทางออกของวิกฤตการณ์การเมือง แต่ก็มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย