เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ไทย กับสงครามโลกครั้งที่2

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทย ทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และ สมุทรปราการ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะฮาวาย, ฟิลิปปินส์และส่งทหารขึ้นบกที่มลายูและโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 (ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูล สงคราม)เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเริ่มสงครามนั้นไทยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน 

กลุ่มคนไทยบางส่วนโดยเฉพาะในต่างประเทศไทยได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย เมื่อสงครามสงบในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 


ความมุ่งหวังที่ญี่ปุ่นจะอาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดครองอินเดีย

ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นเหนือแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะในเดือนกันยายน พ.ศ. 2485 ทั้งคนงานและเชลยศึกจำนวนหมื่นถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร ต้องโหมทำงานตลอดวันตลอดคืน บุกเบิกเข้าไปในป่ากว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและโรคภัย คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ ต้องประสบความทุกข์ทรมาน เจ็บปวดล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางรถไฟพังทลายเพราะน้ำเซาะคันดินและสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ

 สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง 
ผลของสงครามต่อไทย คือ

  1. ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
  2. ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
  3. เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
  4. ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

สำหรับประเทศไทยนั้น เราได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียและแปซิฟิกไม่นับรวมญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมกับพวกอักษะ สาเหตุการเข้าร่วมนั้น สืบเนื่องมาจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ 5 ทุกประเทศในฝั่งทะเลแปซิฟิกและทะเลอันดามัน ถูกเป็นเมืองขึ้นกันหมด เหลือแต่ไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น และจากการที่สยามโดนยึดดินแดนรอบนอกส่วนต่างๆ (ซึ่งเดิมเป็นของไทย)เช่น เขมร ลาว บางส่วนของพม่า บางส่วนของจีน และส่วนเหนือของมาเลเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของสยาม ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นมา ประกอบกับเผด็จการจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการนำส่วนที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำให้เราโจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส เราจึงร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น

มุมมองของญี่ปุ่นต่อไทยสมัยนั้น ถือว่าเราเป็นเมืองที่ค่อนข้างเจริญ และไม่เคยถูกชาวต่างชาติครอบงำเหมือนประเทศหลายๆประเทศในแถบนี้ จึงต้องการให้ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เพราะนโยบายของญี่ปุ่นคือ ต่อต้านและขับไล่ชาวตะวันตก ให้ออกไปจากแผ่นดินเอเชียให้หมด ประเทศต่างๆที่เป็นเมืองขึ้นจึงถูกโจมตี

สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2)

เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์โลก

ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและ แสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียว กัน แต่แยกกันด้วย “การหยุดยิง”

การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน

ประเทศที่มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้

ใน สงครามครั้งนี้ เป็นการสู้รบกันระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ และ ฝ่ายพันธมิตร โดยประเทศเล็กๆ ส่วนใหญ่แล้ว ประเทศจะเข้าร่วมฝ่ายตาม ประเทศเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่ ฝ่ายอักประกอบไป ด้วยแกนนำหลัก คือ เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ในนามของกลุ่มอักษะโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว  ที่มีการแถลงวัตถุประสงค์หลักในตอนต้นว่าเพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์ สากล ฝ่ายพันธมิตรประกอบไปด้วยแกนนำหลัก คือ สหราชอาณาจักร, สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญอีก 2 ประเทศคือ จีน และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศทั้ง 5 นี้ได้เข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากประเทศเยอรมนีไม่พอใจสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซี่งเป็นสนธิสัญญาที่เยอรมนีต้องลงนามเมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ถูกลดกำลังทหาร อาวุธ ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เสียดินแดน ชนวนเกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีหาเรื่องโปแลนด์ในประเด็นเรื่องการไม่เคารพสิทธิ ของคนเชื้อสายเยอรมันในโปแลนด์ นอกจากนี้เมื่อทางเยอรมนีขอตัดถนนข้ามจากเยอรมนีฝั่งตะวันตกเข้าไปยังปรัส เซีย (ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนฝั่งตะวันออกของเยอรมนี) โดยผ่านฉนวนโปแลนด์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส แต่อังกฤษและฝรั่งเศสไม่อนุญาต เยอรมนีจึงยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงและบุกเข้าโปแลนด์ทันที  ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสได้สัญญาไว้ว่าจะช่วยเหลือทางทหาร จึงสั่งให้เยอรมนีถอนกำลังออกภายใน 14 ชั่วโมง แต่เยอรมนีปฏิเสธไม่ถอนกำลัง จึงได้ประกาศสงคราม โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่อมาจึงมี จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ฝ่ายชนะคือฝ่าย สัมพันธมิตร ทำให้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปหมดกำลังลง จึงเกิดมหาอำนาจใหม่คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จนนำไปสู่สภาพสงครามเย็นในเกือบจะทันทีที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง

สมรภูมิรบ

สมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่2นั้นเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยตามแผนเดิมของฝ่ายอักษะนั้น ต้องการที่จะบุกมาบรรจบกันที่อิหร่าน ซึ่งสามารถจำแนกสมรภูมิเป็นกลุ่มใหญ่ได้2กลุ่มคือ

สมรภูมิทางตะวันตก ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ได้แก่ ในฝรั่งเศส ออสเตรีย-ฮังการี นาซีเข้าถล่มออสเตรียและผนวกเข้ากับเยอรมนี ล้มล้างระบอบกษัตริย์ในออสเตรียลงและนำกองทัพเข้าโจมตีฮ้งการี ฮังการีเกรงกลัวจึงประกาศยอมแพ้แก่นาซี การบุกโจมตีประเทศต่ำ(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก)ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมีนาแห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จ ลี้ภัยไปยังอังกฤษและมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าหญิงจูเลียนาเมื่อครองเนเธอร์ แลนด์ได้ภายใน 4 วัน เบลเยี่ยมและลักเซมเบอร์ก จึงป้องกันประเทศอย่างแน่นหนาด้วยพรมแดนธรรมชาติแต่นาซีได้เข้าทำลายและทำ การผนวก จากนั้นนาซีสามารถเข้าผนวกฝรั่งเศสได้อย่างง่ายดาย

จากนั้นเข้าถล่มเมืองเกอเออนีคาแห่งสเปนที่เป็นกลางด้วยระเบิดรวมถึง โปรตุเกสด้วย และในสแกนดิเนเวียโดยการบุกโจมตีเดนมาร์กและนอร์เวย์ และบีบบังคับให้สวีเดนที่เป็นกลางมอบทรัพยากรทางธรรมชาติให้เยอรมนี ส่วนฟินแลนด์เข้าร่วมกับนาซีเพื่อเข้าโจมตีดินแดนที่เสียให้กับสหภาพโซเวียต ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง และการยุทธแห่งเกาะบริเตนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่หันไปให้ความสำคัญกับยุโรป ตะวันออกและรัสเซีย ซึ่งเป็นแนวรบที่เยอรมนีได้ทำการโจมตีหลังจากได้เข้ายึดครองประเทศโปแลนด์ แล้ว และได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามอีกครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่ นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอ winunleaked


สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก ได้แก่ ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน) ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต โรมาเนียนั้นเข้าร่วมกับนาซีและเข้าผนวกบัลแกเรียโดยนายพลเซาเซสคูแห่งโรมา เนีย ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจากเยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวัน ตก ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวนมาก แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร เนื่องจากแนวรบที่กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราด หรือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) จนถึงลุ่มแม่น้ำโวลก้า (สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย และการตอบโต้อย่างหนักจากสหภาพโซเวียต จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุด ส่วนอิตาลีได้ทำการผนวกแอลเบเนียแต่ไม่สามารถผนวกกรีซได้
สมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และอียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก แต่ในที่สุด เนื่องด้วยฝ่ายอักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเล เมดิเตอร์เรเนียนได้มาก เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของ นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น และสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้ zokzak

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *