เหตุการณ์ปัจจุบัน

เหตุการณ์ปัจจุบัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.

เหตุการณ์ปัจจุบันเหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557การบริหารและนโยบาย ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง

เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ นอกเหนือจากนี้ ยังสั่งยุบคณะรัฐมนตรีรักษาการ แต่วุฒิสภา ศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังทำหน้าที่ต่อ คสช. ออกประกาศให้หัวหน้าคณะใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี จนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรี

และยังวางตัวสมาชิกสั่งการกระทรวงและส่วนราชการที่เทียบเท่า  ในวันที่ 23 พฤษภาคม พลเอก ประยุทธ์ แถลงว่า คสช. มุ่งดำเนินการปฏิรูปประเทศในทุกด้านก่อนมีการเลือกตั้ง

มีผู้เล่าว่า พลเอก ประยุทธ์ ชี้แจงต่อหน่วยงานต่าง ๆ ว่า จำเป็นต้องรัฐประหารเพราะคู่ขัดแย้งไม่สามารถตกลงหาทางออกให้กับประเทศ ทั้งส่งผลให้ไม่มีเงินเดือนจ่ายข้าราชการในปีงบประมาณ 2558 และไม่มีใครทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เขาย้ำว่าถือการปราบปรามขบวนการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นนโยบายหลัก และเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการ คือ ปัญหาโครงการรับจำนำข้าว เชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้ภายใน 15-20 วัน

เขากล่าวถึงแผนพัฒนาประเทศที่จะดำเนินการในอนาคต คือ โครงการถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง พลเอก ประยุทธ์กล่าวว่า จะตั้งสภาปฏิรูปและสมัชชาแห่งชาติเพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศ และจะปกครองประเทศต่อไปจนกว่าสถานการณ์ต้องการรัฐบาลชั่วคราวไม่มีคำมั่นว่าจะกลับคืนสู่การปกครองพลเรือนโดยเร็ว ซึ่งผิดแปลกจากรัฐประหารก่อนหน้า ยิ่งไปกว่านั้น คสช. ประกาศว่า หัวหน้าคณะจะตัดสินใจนโยบายการบริหารประเทศ ทั้ง “ระยะสั้นและระยะยาว”

วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 คสช. ยุบวุฒิสภา

ที่มีอยู่และให้หัวหน้าคณะมีอำนาจนิติบัญญัติ คสช. ยังสั่งให้อำนาจตุลาการดำเนินการภายใต้คำสั่ง คสช. ย้ายพลตำรวจเอก อดุลย์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นรองหัวหน้าคณะฯ และ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปดำรงตำแหน่งที่ไม่มีหน้าที่ในสำนักนายกรัฐมนตรี

อดุลย์และธาริตถูกมองว่าภักดีต่อรัฐบาลที่ถูกยึดอำนาจ พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ได้รับแต่งตั้งแทนอดุลย์อย่างไรก็ตาม

กรณีของ พลตำรวจเอก อดุลย์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีรายงานว่าเขาต้องการปลดตัวเองเพื่อให้เพื่อนของเขา พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ได้เป็นรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อีกเพียง 4 เดือน

ภายหลัง คสช. ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับทราบรัฐประหารครั้งนี้แล้ว แต่ไม่อธิบายว่าการสนองดังกล่าวเป็นการสนับสนุน ต่อมา วันที่ 26 พฤษภาคม มีพิธีสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า คสช. พระบรมราชโองการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นหัวใจสร้างความชอบธรรมแก่รัฐประหาร วันที่ 25 พฤษภาคม คสช.

ให้ศาลทหารมีอำนาจไต่สวนคดีเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ความมั่นคงของชาติหรือละเมิดคำสั่งของ คสช. พลเรือนไม่ได้รับอนุญาตให้มีทนายความในศาลทหาร วันเดียวกัน คสช. ค้นบ้านพักของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

บรรณาธิการนิตยสารซึ่งปัจจุบันถูกจำคุกสิบเอ็ดปีฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. 2556 คสช. กักขังภรรยาเขา ซึ่งกำลังรณรงค์ด้านนักโทษการเมือง และบุตรชาย ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจารณ์กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยถูก คสช. กักขังไว้เช่นกัน

เศรษฐกิจ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐตั้งข้อสังเกตว่า การบริหารประเทศหลังรัฐประหารครั้งนี้เน้นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นวัตถุประสงค์หลัก คสช. เริ่มให้ ธ.ก.ส. นำเงินสภาพคล่อง 40,000 ล้านบาทมาจ่ายหนี้โครงการรับจำนำข้าว 92,000 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม นอกจากนี้ ยังมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 เพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว และยังเร่งรัดจัดทำงบประมาณปี 2558  วันที่ 28 พฤษภาคม พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้า คสช. กล่าวว่า ขอเวลา 2 สัปดาห์ทบทวนโครงการลงทุนตามแผนแม่บทกระทรวงคมนาคม 2 ล้านล้านบาท

วันที่ 12 มิถุนายน จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีระยะเวลาดำเนินการในปี 2558-2565 กรอบเงินลงทุน 3 ล้านล้านบาท มี 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์รถไฟ ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถนน ทางน้ำและทางอากาศ โดยเพิ่มแผนแม่บทโครงการทางอากาศจากแผนแม่บท 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่สามารถใช้เงินลงทุนของตัวเอง

วันที่ 1 สิงหาคม หนังสือพิมพ์ เดอะการ์เดียน รายงานว่า คสช. ได้อนุมัติโครงการขนส่งทางรางมูลค่า 741,000 ล้านบาทเพื่อเชื่อมกับประเทศจีนโดยตรงภายในปี 2564 การก่อสร้างจะเริ่มในปีหน้า เส้นทางทั้งสองยาว 1,400 กิโลเมตร แต่ต่างจากรถไฟความเร็วสูงที่ปกติวิ่งที่ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางนี้จะมีความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่จะลงทุนเพิ่ม และจนถึงวันเดียวกัน คสช.

อนุมัติงบประมาณรายจ่ายไปแล้ว 304,969 ล้านบาท วันที่ 21 สิงหาคม มีตัวแทนแนวร่วมเกษตรกรชาวสวนยางพาราบ้านส้องและพันธมิตร เกษตรกรสวนยางในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้แก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ หากไม่ได้คำตอบภายใน 7 วัน จะเคลื่อนไหวต่อต้านครั้งใหญ่ พร้อมยืนยันเป็นความเดือดร้อนจริง ๆ ไม่มีเกมการเมืองอยู่เบื้องหลัง

การจับกุมและเรียกตัวบุคคล

รักษาการนายกรัฐมนตรี นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการเจรจา 7 ฝ่าย เดินทางออกจากสำนักงานที่กระทรวงการคลังทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมโดยทหารทันทีหลังเกิดรัฐประหาร จากนั้น คสช. สั่งให้เขาและคณะรัฐมนตรีที่ไม่ถูกจับกุมมารายงานตัวภายในวันนั้น มีรายงานว่านิวัฒน์ธำรงพยายามตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเทพมหานคร แต่สถานทูตปฏิเสธรายงานดังกล่าว

คืนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ทหารจับกุมนักการเมืองเพิ่มเติม รวมทั้ง ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง วันรุ่งขึ้น คสช. เรียกสมาชิกพรรคเพื่อไทยและตระกูลชินวัตร รวมทั้ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นิวัฒน์ธำรงและยิ่งลักษณ์มารายงานตัวต่อ คสช. ในเช้าวันนั้น

ต่อมา คสช. เรียกบุคคลที่โดดเด่นอีก 114 คนจากทั้งสองฝ่าย และแถลงว่าผู้ที่ไม่มารายงานตัวจะถูกจับกุมและดำเนินคดี[ นักเคลื่อนไหว สมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นบุคคลแรกที่ปฏิเสธไม่ไปรายงานตัว โดยกล่าวว่า “โคตรขำ ไม่ไปรายงานตัวถือเป็นความผิดอาญา” เขาท้าทายการเรียกโดยโพสต์ลงเฟซบุ๊กว่า “Catch me if you can” (จับฉันเลยถ้าจับได้)  คสช. สนองโดยแถลงในเช้าวันที่ 24 พฤษภาคมว่า winunleaked

จะส่งทหารไปจับตัวผู้ไม่มารายงานตัว จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นบุคคลแรกที่ถูกไต่สวนในศาลทหารเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. โฆษก คสช. ยังกล่าวว่า การจัดการแถลงข่าวต่อสื่อต่างประเทศถือว่าไม่เหมาะสมและขัดต่อนโยบาย คสช. เขาถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้ายตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ รวมมีโทษระวาง 14 ปี

วันที่ 5 มิถุนายน สมบัติถูกจับกุมที่จังหวัดชลบุรี

ทหารตามรอยเขาผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้เลขที่อยู่ไอพี กองทัพแถลงว่า สมบัติจะได้รับโทษจำคุกเจ็ดปีฐานชักชวนให้ประชาชนละเมิดคำสั่ง คสช. ซึ่งเป็น “กฎหมายของแผ่นดิน” นอกเหนือไปจากโทษจำคุกสองปีฐานขัดคำสั่ง คสช. กองทัพยังกล่าวว่าผู้ให้ที่พักพิงสมบัติจะได้รับโทษจำคุกสองปีกองทัพยังสั่งให้นักการทูตไทยดำเนินมาตรการเพื่อบังคับให้นักวิชาการนอกประเทศที่ถูกเรียกให้รายงานตัวกลับประเทศ เป้าหมายหนึ่ง คือ รศ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธุ์ ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต กองทัพสั่งทั้งเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียวและกงสุลใหญ่ในโอซะกะว่า หากทั้งสองไม่สามารถบังคับให้ปวินกลับมาได้ zokzak

จะถูกย้ายหรือให้พ้นจากราชการ ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ให้ นาย สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียว และย้าย ธนาธิป อุปัติศฤงค์ พ้นตำแหน่งดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีมีมติ ย้าย วิชิต ชิตวิมาน และ แต่งตั้ง ดุสิต เมนะพันธุ์ เป็น กงสุลใหญ่ในโอซะกะ[มีผลวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 คสช. ยังสั่งให้นักเคลื่อนไหวที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและอยู่นอกประเทศมารายงานตัว อาทิ รศ. ใจ อึ๊งภากรณ์ โดยสั่งให้มารายงานตัวภายในวันที่ 9 มิถุนายน 2557

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *